เกษตรอินทรีย์ บำรุงดิน ลดสารเคมี

เกษตรอินทรีย์ คือ เน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี

เกษตรอินทรีย์ใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรส่วนใหญ่

เกษตรอินทรีย์ปนปุ๋ยเคมีของเกษตรกรส่วนใหญ่

ถึงแม้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ ของ ประเทศไทย เริ่มตระหนักถึงพิษภัยของปุ๋ยเคมี ที่ใช้กันมา 40 กว่าปี ทำให้ดิน น้ำ อากาศ และสิ่งแวดล้อมเสียหายในวงกว้างก็ตาม เกษตรกรส่วนใหญ่ยังฝังใจและเชื่อมั่นว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวะภาพ ไม่สามารถให้สารอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ที่เพียงพอแก่พืชของตนเอง ผลที่ได้รับก็คือผลผลิตลดลงไปกว่าครึ่ง เมื่อเกษตรกรเริ่มหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในรอบแรกๆ โดยเฉพาะปุ๋ยอินทรีย์มีอยู่เป็นพันยี่ห้อ
แต่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ของกระทรวงเกษตร มีเพียง 2-3 ยี่ห้อเท่านั้น ในท้องตลาด และบางยี่ห้อยังได้รับมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์จากค่ายยุโรปอีกด้วยมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ของกระทรวงเกษตร
เป็นสัจจธรรมที่ต้องยอมรับว่า ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ได้จากวัตถุดิบธรรมชาติในปัจจุบัน ได้มาจากดิน น้ำ อากาศ สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมกว่าแต่ก่อนมากปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จึงมีแร่ธาตุ และสารอาหารที่พืชต้องการอยู่ไม่มากนัก เทียบกับปุ๋ยเคมีไม่ได้ ประเทศเวียตนาม สั่งปุ๋ยอินทรีย์ไปจากประเทศไทยไม่น้อย แต่เงื่อนไขการหมักต้องใช้เวลาผลิต 1ปีขึ้นไป จึงจะยอมรับซื้อ โดยทางสถานทูตของเขามาดูแลเงื่อนไขการผลิตอย่างเข้มงวด กว่าจะเป็นที่ยอมรับให้ส่งออกไปประเทศของเขา ให้ชาวนาได้ใช้ปรับปรุงดิน และน้ำชลประทานของเขา ยังมีพื้นที่มากกว่าของประเทศไทยอีกด้วย...หากชาวนาไทยยังย่ำอยู่กับที่ น่าจะรู้อนาคตดีว่าการผลิตข้าวของเรา จะนำหน้าหรืออยู่ตามหลังเวียตนาม
แต่ ส่วนที่เกษตรกรได้รับจากปุ๋ยอินทรีย์เต็มๆ คือการช่วยปรับปรุงดินให้มีชีวิตดีขึ้นกว่าเก่า และส่งเสริมให้เกิดจุลินทรีย์ในดินเพิ่มขึ้น จนมีไส้เดือนดินเกิดขึ้นช่วยพรวนดิน และช่วยผลิตปุ๋ย ธรรมชาติให้แก่รากพืช เพิ่มโพรงอากาศให้แก่ดินมากยิ่งขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวงจรของสัตว์เล็กๆเช่นจุลินทรีย์ ช่วยผลิตสารอาหารให้แก่รากพืช และยังช่วยดึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศให้แก่รากพืชอีกด้วย
การใช้ปุ๋ยเคมีสะสมความเป็นกรดในดินมากขึ้นเกินสมดุล จนจุลินทรีย์อยู่ไม่ได้พากันล้มตายไปหมด โรงครัวใหญ่ใต้ดินของรากพืช จึงขาดตัวช่วยจากธรรมชาติที่ชาวนาไม่ต้องลงทุนไปอย่างน่าเสียดาย...ลืม คิดไปว่าทำไมป่าไม้จึงงอกงามเจริญดีมาเป็นร้อยๆปี ธรรมชาติเอื้อเฟื้อต่อกันเป็นวงจรอย่างไร ชาวนาและเกษตรกร ไม่ได้รับความรู้ตรงนี้ของธรรมชาติที่สอนโดยไม่ต้องสอนแต่เป็นให้ดู

เมื่อเกษตรกรที่อดทนไม่พอ ในการปรับตัวและฟื้นชีวิตให้ดินโดยหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์พากันล่าถอยเลิกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากมีรายได้จากผลผลิตน้อย เป็นประการแรก และไม่สะดวกในการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งมีน้ำหนักมาก และรากพืชได้รับสารอาหารช้ากว่าการใช้ปุ๋ยเคมี จึงพากันหันกลับไปใช้ปุ๋ยเคมีอีกเช่นเดิม เป็นที่น่าเวทนาที่เขาคิดว่าไม่มีที่พึ่งอื่นใดดีกว่านั่นเอง ใจก็ยังคิดจะให้ได้รับผลผลิตมากๆเข้าไว้นั่นเอง ไม่รู้จักเศรษฐกิจพอเพียงในอาชีพเกษตรกรรมของตนเอง และยังได้รับเครดิตจากร้านค้าปุ๋ย ให้นำปุ๋ยมาใช้ได้ก่อนยังไม่ต้องชำระเงิน ใช้เงินอนาคตไปก่อน แต่ต้องชำระคืนหลังเก็บเกี่ยว พร้อมดอกเบี้ยราคาแพงอีกด้วย

วิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ

การเกษตรอินทรีย์ เป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของไทย

Search