เกษตรอินทรีย์ บำรุงดิน ลดสารเคมี

เกษตรอินทรีย์ คือ เน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทางเลือกของเกษตรกรไทย

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

เป็นปุ๋ยรูปแบบใหม่ที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์ที่ได้รับการสนับสนุนงานวิจัยจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก)เป็นปุ๋ยสองชนิดร่วมกัน คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ กระบวนการผลิตจะต้องทำการผลิตแยกกัน
    ปุ๋ยอินทรีย์การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จะต้องใช้กระบวนการผลิตที่ให้อุณหภูมิสูงเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโรคพืช คน และสัตว์ในวัสดุหมัก รวมทั้งเพื่อลดประชากรจุลินทรีย์ธรรมชาติในช่วงสุดท้ายที่อุณหภูมิในกองปุ๋ยลดลงอยู่ระหว่าง 35-40°C
    ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้นจะใช้จุลินทรีย์กลุ่ม plant growth promoting rhizobacteria (PGPR) ที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้และผลิตออกซิน โดยต้องทำการผลิตในถังหมักระบบปลอดเชื้อ จุลินทรีย์ที่ใช้คือสกุล Azotobacter และ Azospirillum ที่ได้ผ่านการคัดเลือกเฉพาะที่ให้ประสิทธิภาพสูง การผลิตในถึงหมักปลอดเชื้อจะต้องได้ปริมาณเชื้อสูงถึง 109 cells/ml จึงจะสามารถนำไปผสมกับปุ๋ยหมักได้
    นอกจากปุ๋ยชีวภาพในกลุ่ม PGPR แล้วยังได้นำเชื้อราไตรโคเคอร์มา (Trichoderma harzianum) ซึ่งเป็น จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ และเชื้อปฏิปักษ์ยับยั้ง และทำลายเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้รากเน่าในพืช ใส่ลงไปในปุ๋ยดังกล่าวด้วย
    ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ดังกล่าวนี้จะมีคุณสมบัติของการเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร และมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวในปริมาณที่สูงพอที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อพืช
    ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
  

  • บำรุงดิน โดยช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารให้กับพืชรวมถึงปรับสภาพสมดุลของธาตุอาหารในดิน ให้ดินมีความร่วนซุยจับตัวกันอย่างพอเหมาะต่อการเก็บ การระบายน้ำ และมีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • ช่วยลดกิจกรรม และปริมาณของเชื้อราสาเหตุของโรคพืชบางชนิดในดิน เพิ่มความต้านทานโรคของพืช
     
  • สามารถให้ปุ๋ยไนโตรเจนและอ๊อกซินกับพืชได้โดยจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
     
  • สามารถใช้ได้กับพืชปลูกทุกชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
      
  • ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
 

วิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ

การเกษตรอินทรีย์ เป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของไทย

Search