เกษตรอินทรีย์ บำรุงดิน ลดสารเคมี

เกษตรอินทรีย์ คือ เน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี

เกษตรอินทรีย์ใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรส่วนใหญ่

เกษตรอินทรีย์ปนปุ๋ยเคมีของเกษตรกรส่วนใหญ่

ถึงแม้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ ของ ประเทศไทย เริ่มตระหนักถึงพิษภัยของปุ๋ยเคมี ที่ใช้กันมา 40 กว่าปี ทำให้ดิน น้ำ อากาศ และสิ่งแวดล้อมเสียหายในวงกว้างก็ตาม เกษตรกรส่วนใหญ่ยังฝังใจและเชื่อมั่นว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวะภาพ ไม่สามารถให้สารอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ที่เพียงพอแก่พืชของตนเอง ผลที่ได้รับก็คือผลผลิตลดลงไปกว่าครึ่ง เมื่อเกษตรกรเริ่มหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในรอบแรกๆ โดยเฉพาะปุ๋ยอินทรีย์มีอยู่เป็นพันยี่ห้อ
แต่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ของกระทรวงเกษตร มีเพียง 2-3 ยี่ห้อเท่านั้น ในท้องตลาด และบางยี่ห้อยังได้รับมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์จากค่ายยุโรปอีกด้วยมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ของกระทรวงเกษตร
เป็นสัจจธรรมที่ต้องยอมรับว่า ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ได้จากวัตถุดิบธรรมชาติในปัจจุบัน ได้มาจากดิน น้ำ อากาศ สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมกว่าแต่ก่อนมากปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จึงมีแร่ธาตุ และสารอาหารที่พืชต้องการอยู่ไม่มากนัก เทียบกับปุ๋ยเคมีไม่ได้ ประเทศเวียตนาม สั่งปุ๋ยอินทรีย์ไปจากประเทศไทยไม่น้อย แต่เงื่อนไขการหมักต้องใช้เวลาผลิต 1ปีขึ้นไป จึงจะยอมรับซื้อ โดยทางสถานทูตของเขามาดูแลเงื่อนไขการผลิตอย่างเข้มงวด กว่าจะเป็นที่ยอมรับให้ส่งออกไปประเทศของเขา ให้ชาวนาได้ใช้ปรับปรุงดิน และน้ำชลประทานของเขา ยังมีพื้นที่มากกว่าของประเทศไทยอีกด้วย...หากชาวนาไทยยังย่ำอยู่กับที่ น่าจะรู้อนาคตดีว่าการผลิตข้าวของเรา จะนำหน้าหรืออยู่ตามหลังเวียตนาม
แต่ ส่วนที่เกษตรกรได้รับจากปุ๋ยอินทรีย์เต็มๆ คือการช่วยปรับปรุงดินให้มีชีวิตดีขึ้นกว่าเก่า และส่งเสริมให้เกิดจุลินทรีย์ในดินเพิ่มขึ้น จนมีไส้เดือนดินเกิดขึ้นช่วยพรวนดิน และช่วยผลิตปุ๋ย ธรรมชาติให้แก่รากพืช เพิ่มโพรงอากาศให้แก่ดินมากยิ่งขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวงจรของสัตว์เล็กๆเช่นจุลินทรีย์ ช่วยผลิตสารอาหารให้แก่รากพืช และยังช่วยดึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศให้แก่รากพืชอีกด้วย
การใช้ปุ๋ยเคมีสะสมความเป็นกรดในดินมากขึ้นเกินสมดุล จนจุลินทรีย์อยู่ไม่ได้พากันล้มตายไปหมด โรงครัวใหญ่ใต้ดินของรากพืช จึงขาดตัวช่วยจากธรรมชาติที่ชาวนาไม่ต้องลงทุนไปอย่างน่าเสียดาย...ลืม คิดไปว่าทำไมป่าไม้จึงงอกงามเจริญดีมาเป็นร้อยๆปี ธรรมชาติเอื้อเฟื้อต่อกันเป็นวงจรอย่างไร ชาวนาและเกษตรกร ไม่ได้รับความรู้ตรงนี้ของธรรมชาติที่สอนโดยไม่ต้องสอนแต่เป็นให้ดู

เมื่อเกษตรกรที่อดทนไม่พอ ในการปรับตัวและฟื้นชีวิตให้ดินโดยหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์พากันล่าถอยเลิกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากมีรายได้จากผลผลิตน้อย เป็นประการแรก และไม่สะดวกในการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งมีน้ำหนักมาก และรากพืชได้รับสารอาหารช้ากว่าการใช้ปุ๋ยเคมี จึงพากันหันกลับไปใช้ปุ๋ยเคมีอีกเช่นเดิม เป็นที่น่าเวทนาที่เขาคิดว่าไม่มีที่พึ่งอื่นใดดีกว่านั่นเอง ใจก็ยังคิดจะให้ได้รับผลผลิตมากๆเข้าไว้นั่นเอง ไม่รู้จักเศรษฐกิจพอเพียงในอาชีพเกษตรกรรมของตนเอง และยังได้รับเครดิตจากร้านค้าปุ๋ย ให้นำปุ๋ยมาใช้ได้ก่อนยังไม่ต้องชำระเงิน ใช้เงินอนาคตไปก่อน แต่ต้องชำระคืนหลังเก็บเกี่ยว พร้อมดอกเบี้ยราคาแพงอีกด้วย

เกษตรอินทรีย์ ฟื้นผืนดิน ฟื้นชีวิต เพิ่มคุณภาพ เพิ่มผลผลิต

เกษตรอินทรีย์ ฟื้นผืนดิน ฟื้นชีวิต เพิ่มคุณภาพ เพิ่มผลผลิต
ปัจจุบันแม้กระแสโลกได้มีการรณรงค์ให้ผู้คนหันมาบริโภคอาหารปลอดสารพิษและให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ดูเหมือนว่า บ้านเรานั้นให้ความสนใจน้อยมาก เกษตรกรส่วนใหญ่ยังนิยมใช้สารเคมีในภาคเกษตร ทั้งที่ทราบว่ามหันตภันของสารเคมีนั้น คร่าชีวิตผู้คนทั้งผู้บริโภค และผู้ใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรมามากต่อแล้วก็ตามเกษตรอินทรีย์กับนาข้าว

สาเหตุหลักที่เกษตรกรสนใจการทำเกษตรอินทรีย์น้อย ก็เพราะว่า ส่วนหนึ่งเกษตรกรยังไม่เข้าใจคำว่าเกษตรอินทรีย์ จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ขณะที่การใช้สารเคมีในภาคเกษตรนั้นเห็นผลชัดเจนคือสามารถกำจัดศัตรูพืชได้ดั่งใจ ผลผลิตที่ออกมามีปริมาณมาก  และสวยด้วย ทั้งที่ความจริงบนความสวยงามของผลผลิตทางเกษตรที่มาจากการใช้สารเคมีนั้น เป็นมหัตภัยอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ริโภค
มีตัวอย่างให้เห็นครับ ชาวอีสานจำนวนมาก มีการล้มป่วยเป็นโรคทางเดินอาหาร และอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ที่เกิดมาจากการบริโภคพืชผักทางการเกษตรที่มาจากเมืองจีน     พืชผักที่มาจากเมืองจีนที่ตรวจพบว่า สารเคมีตกค้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะทะลักเข้ามาทางจังหวัดชายแดนริมแม่น้ำโขงตอนบน แล้วไปขายในพื้นที่ภาคอีสาน มีจำพวก ผักคะน้า บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี และแครอท มีสารออร์แกโน ฟอสเฟต และคาร์บาเมตตกค้างมากที่สุด
ถึงเวลาแล้วครับ ที่บ้านเราต้องหันมาส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง และหากใครสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ หรืออยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์เชิญได้ครับ

Huge

huge1 HUGE 1
พืชผัก มะเขือ ถั่วฝักยาว ข้าว แตงร้าน บวบ มะระ พริก แตงโม คะน้า ผักกาด หัวไชเท้า
พืชไร่ สับปะรด มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด กาแฟ ถั่วลิสง เผือก
ไม้ผล มะม่วง มะขาม แก้วมังกร ฝรั่ง ชมพู่ ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน เงาะ
ไม้ดอกไม้ประดับ ดาวเรือง มะลิ ดอกรัก กุหลาบ กล้วยไม้
huge2 HUGE 2 ยางพารา
กระตุ้นระบบการหาอาหาร รากและใบ เพิ่มธาตุอาหารให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ของต้นยางพารา
ทำให้ลำต้นแข็ง รากมากแข็งแรงทนลม และการชะล้างจากภัยธรรมชาติ
ทำให้หน้ายางนิ่ม โดยทาบริเวณที่กรีดหน้ายาง
มีการสร้างเนื้อมากขึ้น ทั้งลำต้น ทำให้หน้ายางนิ่ม กรีดง่าย น้ำยางมากอย่างชัดเจน
huge3 HUGE 3 ปลา,กุ้ง,กบ
ช่วยให้ระบบการย่อยอาหาร ลำไส้ดูดซึมอาหารได้อย่างสมบูรณ์ ประหยัดอาหาร กินอาหารได้ดีขึ้น
ทำให้แข็งแรง โตเร็วไม่ตกใจ ลดความเครียดของกุ้ง ปลา
ทำให้กุ้งลอกคราบได้อย่างสมบูรณ์ เปลือกกุ้งแข็งแรง ตัวใส มูลสวย อัตราการรอดตายสูง
กุ้งไม่เป็นตะคริว เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ลดยาปฏิชีวนะลง ป้องกันอาการขี้ขาว อย่างได้ผล
huge4 HUGE 4 โคนม,โคเนื้อ,หมู
ช่วยให้ระบบการย่อยที่สมบูรณ์ มีเอ็นไซด์ ซึ่งทำให้ระบบลำไส้ ย่อยอาหารและนำอาหารไปใช้ได้หมด ลดคอเรสเตอรอล ในเส้นเลือดของสัตว์
เพิ่มน้ำหนักตัว เนื้อแน่นตัน เพิ่มคุณภาพเนื้อให้ดี ไม่เหลวนิ่ม มันน้อย
เพิ่มปริมาณน้ำนม น้ำนมมีคุณภาพดี
สร้างภูมิต้านทานโรค

ยางพาราใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว

ยางพาราใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวผสม Giantสูตร 1 อัตราส่วน 1 กระปุกต่อ 3-5 กระสอบ

  • ยางอายุ 1-2 ปี ใช้ปุ๋ยที่ผสมแล้ว 200 กรัมต่อต้น
  • ยางอายุ 3-5 ปี ใช้ปุ๋ยที่ผสมแล้ว 0.5 กก.ต่อต้น
  • ยางอายุ 5 ปีขึ้นไป ใช้ปุ๋ยที่ผสมแล้ว 1 กก.ต่อต้น
  • ยางอายุ 7 ปี ใช้ปุ๋ยที่ผสมแล้ว 1.5 กก.ต่อต้น
หว่านทุก 30-40 วัน
  • กรณียางหน้าตายให้ใช้ Jiant 6 ทาหน้ายาง
  • กรณียางเกิดรารากให้ใช้Jiant 5 40cc/น้ำ 20 ลิตรราดชายพุ่ม
สารสกัดจุลินทรีย์ คุณสมบัติ
1. สารสกัดจากจุลินทรีย์
2. สารสกัดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันมานานกว่าล้านปี
(Wate Oil - กากปิโตรเคมี)
3. สารสกัดจากไข่
4. สารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ

ส่วนประกอบสำคัญ
- N P K Ca Mg S Fe Zn Cu Mn B Mo Cl ………………......... 8-9 %

- โปรตีน .................................................................................. 15-16 %
- วิตามิน B1, B2, B6, B12 …………………………   3-5 มล./ 1 ก.ก.
- กรดอะมิโนสกัดจากธรรมชาติ ........................................... 18 ชนิด
- Growth Hormone (ฮอร์โมนสกัดจากธรรมชาติ)
- สารไล่แมลงสกัดจากธรรมชาติ
สารสกัดจุลินทรีย์ชีวภาพ ผสมกับปุ๋ยมูลค้างคาว อัตราส่วน 1 กระปุกต่อปุ๋ย 5 กระสอบ

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทางเลือกของเกษตรกรไทย

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

เป็นปุ๋ยรูปแบบใหม่ที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์ที่ได้รับการสนับสนุนงานวิจัยจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก)เป็นปุ๋ยสองชนิดร่วมกัน คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ กระบวนการผลิตจะต้องทำการผลิตแยกกัน
    ปุ๋ยอินทรีย์การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จะต้องใช้กระบวนการผลิตที่ให้อุณหภูมิสูงเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโรคพืช คน และสัตว์ในวัสดุหมัก รวมทั้งเพื่อลดประชากรจุลินทรีย์ธรรมชาติในช่วงสุดท้ายที่อุณหภูมิในกองปุ๋ยลดลงอยู่ระหว่าง 35-40°C
    ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้นจะใช้จุลินทรีย์กลุ่ม plant growth promoting rhizobacteria (PGPR) ที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้และผลิตออกซิน โดยต้องทำการผลิตในถังหมักระบบปลอดเชื้อ จุลินทรีย์ที่ใช้คือสกุล Azotobacter และ Azospirillum ที่ได้ผ่านการคัดเลือกเฉพาะที่ให้ประสิทธิภาพสูง การผลิตในถึงหมักปลอดเชื้อจะต้องได้ปริมาณเชื้อสูงถึง 109 cells/ml จึงจะสามารถนำไปผสมกับปุ๋ยหมักได้
    นอกจากปุ๋ยชีวภาพในกลุ่ม PGPR แล้วยังได้นำเชื้อราไตรโคเคอร์มา (Trichoderma harzianum) ซึ่งเป็น จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ และเชื้อปฏิปักษ์ยับยั้ง และทำลายเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้รากเน่าในพืช ใส่ลงไปในปุ๋ยดังกล่าวด้วย
    ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ดังกล่าวนี้จะมีคุณสมบัติของการเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร และมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวในปริมาณที่สูงพอที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อพืช
    ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
  

  • บำรุงดิน โดยช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารให้กับพืชรวมถึงปรับสภาพสมดุลของธาตุอาหารในดิน ให้ดินมีความร่วนซุยจับตัวกันอย่างพอเหมาะต่อการเก็บ การระบายน้ำ และมีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • ช่วยลดกิจกรรม และปริมาณของเชื้อราสาเหตุของโรคพืชบางชนิดในดิน เพิ่มความต้านทานโรคของพืช
     
  • สามารถให้ปุ๋ยไนโตรเจนและอ๊อกซินกับพืชได้โดยจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
     
  • สามารถใช้ได้กับพืชปลูกทุกชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
      
  • ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
 

นาโนไคโตซาน

ไฮเทคเทคโนโลยี นาโนไคโตซาน อาหาร ปลอดภัยห่วงใย สิ่งแวดล้อม ปลอดสารพิษ 100% ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรทั่วไทย
ไคติน/ไคโตซาน เป็นสารโพลีเมอร์ธรรมชาติ ได้จากเปลือกกุ้ง เปลือกปู และแกนปลาหมึก ไคตินอยู่ในรูป ของ Polymeric form of N-acetyl-b - glucosamine ขณะที่ไคโตซานเป็น deacetylated product ของไคตินนอก จากนี้ ไคติน/ไคโตซานเป็นมิตรกับธรรมชาติและปลอดสารพิษมีประโยชน์ในการประยุกต์ใช้
เปลือกกุ้งและหัวกุ้ง มีสารพอลิแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นไบโอพอลิเมอร์ เรียกว่าไคตินอยู่จำนวนมาก
กระบวนการสกัดไคตินจากเปลือกกุ้ง โดยการบดแล้วแยกโปรตีนออก และลดปริมาณแร่บางชนิดลง จากนั้นนำไปอบแห้งให้ได้ไคตินปริมาณ 28เปอร์เซ็นต์ของเปลือกกุ้ง-หัวกุ้ง ไคตินเป็นสารที่ละลายได้ยากใช้งานไม่สะดวก จึงต้องแปรสภาพให้เป็นไคโตซาน
คุณสมบัติไคโตซาน

  • ช่วยสร้างระบบรากพืชให้ใหญ่ อวบ ยาว ดูดซึมอาหารได้ดีโตเร็ว
  • ช่วยให้ลำต้น กิ่งก้านใบ มีความสมบูรณ์ แตกยอดและใบมาก
  • สร้างระบบการติดดอก ตาดอกสมบูรณ์ และติดผลมากขึ้น
  • ช่วยให้พืชต้านภูมิต้านทานโรค และเป็นฟิล์มบาง ๆ ป้องกันแมลงได้ดี
  • ช่วยปรับสภาพดินให้สมดุล พืชสามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ง่าย
  • มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส จุลลินทรีย์ ที่ทำให้เกิดโรคพืช

วิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ

การเกษตรอินทรีย์ เป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของไทย

Search