เกษตรอินทรีย์ บำรุงดิน ลดสารเคมี

เกษตรอินทรีย์ คือ เน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี

ปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยอินทรีย์บริษัทเจริญโอสถฯ เป็นบริษัทเดียวที่เซ็นสัญญากับ บริษัทอินเตอร์ อโกรเทค Inter Agro Tech(Thailand) จำกัด
ตั้งอยู่ที่ จ.กำแพงเพชร ที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลขุดมูลค้างคาวจากถ้ำ เขาหน่อ-เขาแก้ว
แถบ จ.นครสวรรค์-กำแพงเพชรเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบทำปุ๋ยมูลค้างคาวทำให้มีฮิวมัสสูงกว่าปุ๋ยทั่วไปมาก
และเจริญโอสถฯ ยังมีโรงงานผลิต ปุ๋ยอินทรีย์สูตรปกติของตนเองอีกด้วย

ข้อดีปุ๋ยมูลค้างคาวของเจริญโอสถฯ

  • ไร้สารเคมี เป็นอินทรีย์ธรรมชาติ 100%
  • ให้ธาตุอาหารครบ 13 ชนิดที่พืชต้องการคือ
    ไนโตรเจน(N),ฟอสฟอรัส(P),โพรแทสเซี่ยม(K),แคลเซี่ยม(Ca),แมกนีเซี่ยม(Mg),กำมะถัน(S),
    เหล็ก(Fe),สังกะสี(Zn),ทองแดง(Cu), แมงกานีส(Mn),โบรอน(B),โมลินั่ม(Mo),คลอรีน(Cl)
    ทำให้ไม่ต้องไปซื้อปุ๋ยสูตรพิเศษต่าง ๆ มาใส่เพิ่มอีกช่วยลดต้นทุนการผลิต
  • มีค่าอินทรีย์วัตถุ OM (Organic Matter) ที่ประมาณ 66 % สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดขั้นต่ำที่ 30% สหกรณ์ซื้อแล้วไปเบิกเงินได้แน่นอน ปุ๋ยอินทรีย์จะไม่เขียนสูตรปุ๋ยเพราะไม่ใช่ปุ๋ยเคมี แต่ใช้ค่า OM
    บอกความสมบูรณ์ของธาตุอาหารแทน ใช้บอกคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์ส่วนมาก จะไม่บอกค่า OM
    หรือก็ไม่ผ่านมาตราฐานที่กำหนด ค่า OM ปุ๋ยต้องส่งตรวจที่หน่วยงานของรัฐโดยตรง โรงงานผลิตปุ๋ยจะตรวจวัดเอง
    ระบุเองไม่ได้
  • ผลิตด้วยเครื่องจักรควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ปุ๋ยมูลค้างคาวที่บริษัทอินเตอร์ อโกรเทค ผลิตส่งออกญี่ปุ่นและผลิตให้บริษัทเจริญโอสถฯ ขายเป็นเกรดเดียวกัน
  • ท่านได้ปุ๋ยเต็ม ๆ ล้วน ๆ 25 กิโลกรัม/ลูก ไปใช้ แม้ว่าปุ๋ยทั่วไปจะมากกว่าคือ 50 กิโลกรัม/ลูก "แต่"
    ปุ๋ยทั่วไปจะใส่ สารเติมเต็ม (Filler) คือ อิฐ หิน ปูน ทราย ดินเหนียว เศษฟาง ฯลฯ ผสมเข้าไปทำให้ได้เนื้อปุ๋ยจริง ๆ
    น้อยกว่าที่ท่านคิด หลายท่านกำลังซื้อขยะ Filler เหล่านี้ไปใส่ไร่ใส่นาโดยไม่รู้ตัวซึ่งไม่มีประโยชน์แก่ต้นไม้เลย มีปุ๋ยนิดเดียว!
    ปุ๋ยเจริญโอสถฯ ใช้มูลค้างคาวอายุต่าง ๆ กัน และธาตุฟอสเฟตหลายพันปีที่ผสมกับมูลค้างคาวแทนสารเติมเต็ม
    แม้จะ 25 กิโลกรัมแต่เป็นเนื้อปุ๋ยล้วน ๆ ที่มีธาตุอาหารจริง ๆ หรือใช้เป็นหัวปุ๋ยก็ได้
    เปรียบเทียบ
       
    ราคาสมาชิก 365 บาทต่อลูก ลูกล่ะ 25 กิโลกรัม ใช้ได้ 1 ไร่ต่อลูก
สั่ง 15 ตันจัดส่งฟรีทั่วประเทศ ถ้าสั่ง 1 ตัน (40 ลูกหรือใช้ได้ 40 ไร่) ราคา 14,000 บาท
(1 ตัน คือ 1 Gold หรือหนึ่งศูนย์ธุรกิจ) และยังมีปุ๋ยอินทรีย์สูตรธรรมดาคุณภาพสูง (ราคา 350 บาทต่อลูก)

การทำเกษตรบนเนื้อที่หนึ่งไร่

การทำเกษตรบนเนื้อที่หนึ่งไร่จะปลูกอะไรดี

คงหาคำตอบที่ดีหรือเหมาะสมกับความต้องการบนเนื้อที่ดินขนาดหนึ่งไร่ แต่ถ้เป็นเกษตรกรตามแนวพระราชดำริคงจะเพียงพอบนพื้นฐานเศษฐกิจพอเพียง และถ้าเป็นตัวของผมเองที่ดินหนึ่งไร่คงทำเกษตรแบบหมุนเวียน และยึดหลักพอเพียง และช่วงหลังน้ำลดมีการปลดคนงานทำให้มีหลายคนกำลังท้อปลูกผักหนึ่งไร่และหมดหวัง อย่าไปท้อแท้คิดว่าเขาให้โอกาสในการคันหาตัวตนที่แท้จริงของเรา แม้อาชีพเกษตรจะไม่ได้สบาย ไม่ได้แต่งตัวโก้หรู่ แต่ทุกอาชีพมีเกรียติเท่าเทียมกัน และเป็นอาชีพดั้งเดิมของปู่ย่าของเรา เอาเป็นว่าผมมีที่ดินหนึ่งไร่ที่พ่อแม่ยกให้ไว้ให้ทำทุนในการประกอบอาชีพ ผมเลือกเดินตามฝันเข้ากรุงเทพเมืองแสนสวยของไทยเรา จนมีมหาภัยหรืออะไรแล้วแต่จะเรียกกันทำให้ผมมีความจำเป็นต้องกลับบ้านด้วยสองมือเปล่าแต่ผมยังมีสมอง ร่างกายที่ครบสมบูรณ์ และก็โชคยังดีที่ยังมีประกันสังคมช่วยผมหายใจได้อีกนานอย่างน้อยก็หกเดือน เพราะไม่อยากรบกวนใคร่ๆ
มาดูวิธีการคิดการทำเกษตรบนเนื้อหนึ่งไร่ของผมกัน คนที่มีประสบการณ์อันน้อยนิดว่าพอจะใช้เป็นแนวทางให้กับเพื่อนๆที่ต้องตกงานกันได้ดีเพียงใด
การทำการเกษตรบนที่ดินที่มีอย่างจำกัดทำให้ต้องคิดหนักเอาการ ก่อนอื่นมาวางแผลนก่อน จะทำเกษตรแบบพอเพียงเขาต้องใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ทำน้ำหมักชีวภาพ แล้วมันทำยังไงว่า เอาเป็นว่าไม่มีความรู้แต่อย่ากทำเกษตรอินทรีย์ เพราะอย่างน้อยๆเราก็ปลอดภัยจากสารเคมี พูดง่ายๆยังอยากหายใจดูโลกอีกนานๆ และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรที่เราจะปลูกในอนาคต ค้นหาข้อมูลจากพี่ชาย หรือสาวก็ไม่รู้เขาชื่อ Google ว่าที่ไหนมีสิ้นค้าที่เราต้องการบ้าง
  • ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดิน เพื่อให้ดินเหมาะกับการเพาะปลูก
  • ปุ๋ยน้ำที่ทำมากจากอินทรีย์ เพื่อให้พืชได้ประโยชน์จากปุ๋ยอินทรีย์
  • สารเร่งราก เร่งใบ เร่งการเจริญ ที่เป็นธรรมชาติ
  • สารควบคุมวัชพืชที่ทำมาจากธรรมชาติ
  • ยาฆ่าหญ้า ธรรมชาติอีกเช่นเดิม
  • ยาฆ่าแมลง และศัตรูพืช
หลายคนสงสัยทำไมผมไม่ทำเอง ผมก็คิด ถ้ามาหมักปุ๋ย ทำยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าเองกรมประกันสังคมคงหมดเวลาให้ผมใช้เงินฟรีแล้ว และกว่าพืชผักจะเก็บเกี่ยวต้องใช้เวลานะคุณพี่เอาเป็นว่าประหยัดเวลาก่อน และผมก็มองหาบริษัทต่างๆที่มีผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ผมต้องการและมองหาส่วนดีของแต่ละร้าน และก็หาข้อมูลของลูกค้าที่มีต่อสินค้านั้นๆว่ามีความคิดเห็นอย่างไร และแล้วก็เจอบริษัทที่ต้องการ เขามีตัวแทนขายสินค้าด้วยที่คอยแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และมีการทดลองประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ และสินค้าทางอินทรีย์ต่างๆ เราไม่ต้องมาทำการค้นหาสูตรการใช้หรือทดลองให้เสียเวลานี้คือข้อดีอีกข้อของสินค้าทางเกษตรอินทรีย์ที่ผมอยากแนะนำให้มือใหม่ใช้ และผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐว่าธาตุอาหารที่พืชต้องการมีครบถ้วนและไม่เป็นอันตรายต่อพืช
เลือกตัวแทนขายปุ๋ยอินทรีย์ตั้งครึ่งวันยังไม่ได้ แล้วเราจะได้เป็นเกษตรกรบนเนื้อที่หนึ่งไร่ เพื่อทำเกษตรอินทรีย์กับเขาไหม แล้วก็เจอรับสมัครตัวแทนขายปุ๋ยอินทรีย์ เข้าไปดูรายละเอียดหน่อยว่ามีอะไรบ้าง มีผลิตภัณฑ์การเกษตรตรงตามที่เราต้องการทั้งหมดเลย เอางั้ยดีว่า แต่เราอยากทำเกษตรเราไม่อยากเป็นเซลล์แมนแบกปุ๋ยขายอีกอย่างเราอายที่จะไปเดินขายของ แต่ก็อยากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ราคาถูก ประหยัด คุณภาพดีและปลอดภัยจากสารเคมีและที่สำคัญมีการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ จึงสอบถามทางบริษัทเขาบอกว่าสมัครสมาชิกก็สามารถซื้อสินค้าในราคาสมาชิก ไม่ต้องเป็นเซลล์ สมัครครั้งเดียวไม่มีต่ออายุรายปี ผมมองว่ามันก็ไม่เสียหายอะไรถ้าเราได้ซื้อปุ๋ยราคาสมาชิก แถมมีคนมาแน่ะนำการใช้ให้ด้วย พอเราใช้ไปนานๆเดี๋ยวมันก็คุ้มกับค่าสมาชิก ผมเลยถามเขาว่างค่าสมัครสมาชิกแพงไหม เขาบอก450บาท แถมยาบำรุงร่างกายหนึ่งขวด มันก็ไม่แพงนี้ว่า ซื้อปุ๋ยห้า หกลูกก็ได้ค่าสมาชิกแล้ว เราต้องใช้สินค้านี้อีกนาน เอาสมัครเลย เขาแนะนำว่าถ้าใช้ดีแล้วบอกต่อเราจะมีรายได้จากการใช้จ่ายของสมาชิกที่เราแนะนำ เออมันก็เข้าท่ามีช่องทางมีรายได้เพิ่ม เพราะพืชผักที่เราปลูกมีคุณภาพดี สุขภาพเราแข็งแรงเพื่อนบ้านเขาก็จะมาสอบถามเราเองไม่ต้องไปแนะนำใคร่ แถมพืชผักเราขายได้ราคาสูงกว่าท้องตลาดเพราะเราปลอดสารเคมี นั่งพิมพ์มาตั้งนานไม่เห็นจะมีข้อมูลการทำเกษตรหนึ่งไร่ให้มีเงินเดือนละหมื่นให้เห็นเลย เดี๋ยวผมมีเวลาสักสองสามนาทีไหม หากไม่ยุ่งอะไร จะมาต่อให้เสร็จ หรือใจร้องก็สอบถามกันได้
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร :0819044460 อีเมลล์ :mr.kaset@gmail.com

​แนวคิดรักอินทรีย์ รักษ์​โลก ผลักดัน​ไทย​เป็น ออร์​แกนิก

แนว​โน้ม​การค้า​เกษตรอินทรีย์ทั่ว​โลกที่​เติบ​โตขึ้นอย่างรวด​เร็ว
สอดรับกับกระ​แส​ความตื่นตัว​เรื่องสุขอนามัย ​และ​การอนุรักษ์สิ่ง​แวดล้อม กระตุ้น​ให้​ผู้คนหันมา​เลือกบริ​โภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น ​แม้จะมีราคาจำหน่ายสูงกว่าราคาสินค้า​โดยทั่ว​ไป ส่งผล​ให้​การค้า​เกษตรอินทรีย์ขยายตัวอย่างก้าวกระ​โดดตาม​ไปด้วย โดยมีตลาดหลักอยู่​ในสหภาพยุ​โรป สหรัฐอ​เมริกา ​เยอรมนี ฝรั่ง​เศส ส่วนตลาดรอง คือ ญี่ปุ่น สิงค​โปร์​และจีน ​ทั้งนี้ ​ไม่​เพียงตลาดต่างประ​เทศ​เท่านั้นที่ขยายตัว ​เพราะปัจจุบัน​ผู้บริ​โภคชาว​ไทย​ก็หันมาบริ​โภคอาหารสะอาด ปลอดภัยกันมากขึ้น ​โดยคาดว่าตลาดสินค้าอินทรีย์​ในประ​เทศจะมีอัตรา​เติบ​โตร้อยละ 10 ​หรือคิด​เป็นมูลค่าประมาณ 132 ล้าน​เหรียญสหรัฐฯ ภาย​ในปี 2554  จาก​แนว​โน้ม​ความต้อง​การสินค้าอินทรีย์ที่​เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อ​เนื่อง นับ​เป็น​โอกาสทาง​การค้าสำหรับประ​เทศที่มีศักยภาพด้าน​การผลิต​และ​การ​ทำ ตลาด กระทรวงพาณิชย์ ​ในฐานะหน่วยงานหลัก​ใน​การส่ง​เสริม​และพัฒนาตลาดสินค้าอินทรีย์ ภาย​ใต้ยุทธศาสตร์​การค้า​ไทย : สร้างภูมิคุ้มกันด้าน​การค้าจากผลกระทบด้านสิ่ง​แวดล้อม​และวิกฤติภาวะ​โลก ร้อน ​จึง​ได้​เร่งดำ​เนินกลยุทธ์ขับ​เคลื่อนตลาดสินค้าอินทรีย์ ผ่าน​แนวทางพัฒนา​ผู้ประกอบ​การด้านสินค้าอินทรีย์ สร้างสิ่งอำนวย​ความสะดวกทาง​การค้า สนับสนุน​การรับรองมาตรฐาน​ให้ทัด​เทียมมาตฐานสากล ตลอดจน​การจัดกิจกรรมส่ง​เสริมตลาดสินค้าอินทรีย์​ไทย​ทั้ง​ใน​และต่างประ​ เทศ

เกษตรอินทรีย์อีสาน​ใต้​เร่งผลักดัน​เกษตรกรลด​ใช้สาร​เคมี/สร้าง​ความมั่นคงอาหาร

​เกษตรกร​ในพื้นที่​เขต​เกษตร​เศรษฐกิจ 5 จังหวัดภาคอีสานตอน​ใต้ ประกอบด้วย อุบลราชธานี ศรีสะ​เกษ ย​โสธร อำนาจ​เจริญ ​และมุกดาหาร ยังคง​ใช้ปุ๋ย​เคมี​และสาร​เคมีทาง​การ​เกษตร​ใน​การประกอบอาชีพมากขึ้น ขณะที่​แผนพัฒนา​เศรษฐกิจ​และสังคม​แห่งชาติ ฉบับที่ 11 (ปี 2555-2559) กระทรวง​เกษตร​และสหกรณ์ ​ได้จัด​ทำ​แผนพัฒนา​การ​เกษตรมุ่ง​ให้ภาค​เกษตร​เป็นฐาน​การผลิตที่ปลอดภัย ​โดยมีวิสัยทัศน์​ให้ "​เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนมี​ความมั่นคงด้านอาหาร ​เป็นฐานสร้างราย​ได้​ให้​แก่​แผ่นดิน" ​จึง​เร่งผลักดัน​ให้มี​การ​แปลง​แผนยุทธศาสตร์​ไปสู่​การปฏิบัติ​ในระดับ พื้นที่ที่มีศักยภาพ
​ทั้งนี้ สศข.11 ​ได้ร่วมกับหน่วยงาน​ในสังกัดกระทรวง​เกษตร​และสหกรณ์​ในพื้นที่ จัดประชุมประชาคม ​เพื่อ​ให้หน่วยงานที่​เกี่ยวข้องขับ​เคลื่อน​แผนพัฒนา​การ​เกษตร​ให้​เป็น​ ไป​ในทิศทาง​เดียวกัน ภาย​ใต้​โครง​การบริหารจัด​การน้ำ​เพื่อ​การ​เกษตร ปี 2555 ​โดยมีหน่วยงานหลักด้าน​การส่ง​เสริม ด้านพืช สัตว์ ​และประมง ​และพัฒนาที่ดิน ที่จะ​เข้า​ไปรณรงค์ส่ง​เสริม​เกษตรกร​ให้ปรับ​เปลี่ยนระบบ​การผลิตจากที่ พึ่งพาสาร​เคมีทาง​การ​เกษตร​แต่​เพียงอย่าง​เดียว ​ให้หันมาพึ่งพาสารอินทรีย์ที่สามารถผลิต​ได้​เองจากวัสดุที่มี​ในท้องถิ่น ​เพื่อช่วยลดต้นทุน​การผลิต ​เพิ่มราย​ได้ ​และ​ให้​เกิด​การ​ใช้ประ​โยชน์ที่ดินอย่าง​เหมาะสม​และยั่งยืน ​และ​ให้​ผู้​แทนกรมส่ง​เสริมสหกรณ์มี​การพัฒนากลุ่ม​เกษตรกร​ใช้สาร อินทรีย์ทด​แทนสาร​เคมีทาง​การ​เกษตร​ให้​เข้ม​แข็ง ​และจัดตั้ง​เป็นสหกรณ์​เกษตรอินทรีย์ จำกัด ขึ้น​ในพื้นที่​โครง​การนำร่อง​เพื่อดำ​เนินงานด้าน​การผลิต ​แปรรูป ​และ​การตลาดอย่างครบวงจร ​และมี​ความพร้อม​เข้าสู่​การรับรองมาตรฐานคุณภาพกับกรมวิชา​การ​เกษตร กรมข้าว กรมปศุสัตว์ ​และกรมประมง
นอกจากนี้ ทางคณะอนุกรรม​การบูรณา​การ​แผนปฏิบัติ​การพัฒนา​การ​เกษตรระดับจังหวัด จะ​ได้มี​การประชุมคัด​เลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านน้ำ ดิน ​และ​ความพร้อมของ​เกษตรกร​เพิ่มจากปี 2553 อีกจังหวัดละ 1-2 ​แห่ง ​และกำหนด​แนวทาง​การพัฒนาสินค้า​การ​เกษตรปลอดภัย​และ​ได้มาตรฐาน นำ​ไปสู่​การผลิต​เกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพ ​และพัฒนา​ไปสู่​การประกาศ​ให้จังหวัด​ในพื้นที่รับผิดชอบ ​เป็น "​เมือง​เกษตรอินทรีย์ ​หรือ ออร์​แกนิก ซิตี้" ​ในอนาคต

เกษตรอินทรีย์ คือ สุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม, และการดูแลเอาใจ

หลักการเกษตรอินทรีย์

 หลักการสำคัญ 4 ข้อของเกษตรอินทรีย์ คือ สุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม, และการดูแลเอาใจใส่ (health, ecology, fairness and care)

ด้านสุขภาพ เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก
สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกันกับสุขภาวะของระบบนิเวศ การที่ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้พืชพรรณต่างๆ แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร
สุขภาวะเป็นองค์รวมและเป็นปัจจัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต การมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัวเองจากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสุข ภาวะที่ดี
บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิต หรือการบริโภค ต่างก็มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต ทั้งปวง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กสุดในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ เกษตรอินทรีย์จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ
ด้านนิเวศวิทยา เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฐจักรแห่ง ธรรมชาติ การผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฐจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น
หลักการเกษตรอินทรีย์ในเรื่องนี้ตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ที่มองเกษตร อินทรีย์ในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต ดังนั้น การผลิตการเกษตรจึงต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวงจรของ ธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศสำหรับให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของการปลูกพืช เกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิต หรือในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะต้องใส่ใจกับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์ม หรือในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศของบ่อเลี้ยง
การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า จะต้องสอดคล้องกับวัฐจักรและสมดุลทางธรรมชาติ แม้ว่าวัฐจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจจะมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นนิเวศได้ ดังนัน การจัดการเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรม และเหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซ้ำ การหมุนเวียน เพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน
ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ควรสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร โดยการออกแบบระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสม การฟื้นฟูระบบนิเวศท้องถิ่น และการสร้างความหลากหลายทั้งทางพันธุกรรมและกิจกรรมทางการเกษตร ผู้คนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การแปรรูป การค้า และการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ควรช่วยกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของภูมินิเวศ สภาพบรรยากาศ นิเวศท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศ และน้ำ
ความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต
ความเป็นธรรมนี้รวมถึงความเท่าเทียม การเคารพ ความยุติธรรม และการมีส่วนในการปกปักพิทักษ์โลกที่เราอาศัยอยู่ ทั้งในระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ในหลักการด้านนี้ ความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการจัดการผลผลิตเกษตร อินทรีย์ในทุกระดับควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรม ทั้งเกษตรกร คนงาน ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้า และผู้บริโภค ทุกผู้คนควรได้รับโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนช่วยในการรักษาอธิปไตยทางอาหาร และช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน เกษตรอินทรีย์ควรมีเป้าหมายในการผลิตอาหารและผลผลิตการเกษตรอื่นๆ ที่เพียงพอ และมีคุณภาพที่ดี
ในหลักการข้อนี้หมายรวมถึงการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสภาพการเลี้ยงให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการ ทางธรรมชาติของสัตว์ รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของสัตว์อย่างเหมาะสม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในการผลิตและการบริโภคควรจะ ต้องดำเนินการอย่างเป็นธรรม ทั้งทางสังคมและทางนิเวศวิทยา รวมทั้งต้องมีการอนุรักษ์ปกป้องให้กับอนุชนรุ่นหลัง ความเป็นธรรมนี้จะรวมถึงว่า ระบบการผลิต การจำหน่าย และการค้าผลผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องโปร่งใส มีความเป็นธรรม และมีการนำต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาเป็นต้นทุนการผลิตด้วย
การดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิด ชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย
เกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่มีพลวัตรและมีชีวิตในตัวเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการผลิต แต่ในขณะเดียวกันจะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวด ล้อม ดังนี้น เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ จะต้องมีการประเมินผลกระทบอย่างจริงจัง และแม้แต่เทคโนโลยีที่มีการใช้อยู่แล้ว ก็ควรจะต้องมีการทบทวนและประเมินผลกันอยู่เนืองๆ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรายังไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างดีพอเกี่ยวกับระบบ นิเวศการเกษตร ที่มีความสลับซับซ้อน ดังนั้น เราจึงต้องดำเนินการต่างๆ ด้วยความระมัดระวังเอาใจใส่
ในหลักการนี้ การดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการ การพัฒนา และการคัดเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในเกษตรอินทรีย์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจว่า เกษตรอินทรีย์นั้นปลอดภัยและเหมาะกับสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประสบการณ์จากการปฏิบัติ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมถ่ายทอดกันมาก็อาจมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้เช่นกัน เกษตรกรและผู้ประกอบการควรมีการประเมินความเสี่ยง และเตรียมการป้องกันจากนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ และควรปฏิเสธเทคโนโลยีที่มีความแปรปรวนมาก เช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีต่างๆ จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและระบบคุณค่าของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ และจะต้องมีการปรึกษาหารืออย่างโปร่งใสและมีส่วนร่วม

การปลูกมันสำประหลัง

การปลูกมันสำประหลัง 3
***การปลูก***
หลักสำคัญก็คือ ควรเลือกต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกที่มีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอกดีที่สุด โดย เลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตาถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูกด้วยมีดที่คม เพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ปลูกปักตรงให้ลึก 2 ใน 3 ของความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 เมตร และในดินร่วนทราย ควรใช้ระยะแถวแคบ 0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ ควรปักลงในดินให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ ลุงป่านบอกควรดูแลรักษาควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอก การปักตรง 90 องศา ลุงป่านบอกว่าปักเฉียง 45 องศากับพื้นดิน ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน และมันสำปะหลังจะงอกเร็ว และจะสะดวกต่อการกำจัดวัชพืชและปลูกซ่อม และลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่ม ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว และให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกแบบฝัง 10-15เปอร์เซ็นต์ลุงป่านแนะว่า การปลูกที่ได้ผลผลิตสูงก็คือ การปักตรง 90องศา และเทคนิคการเฉือนตาข้างของท่อนปลูกออกเพื่อให้เกิดหัวเพิ่มขึ้นอย่ากระทำ โดยเด็ดขาด เพราะรากฝอยที่เกิดจากรอยแผลที่โคนของท่อนปลูกก็มีมากเพียงพอที่จะพัฒนาเป็น หัวสะสมอาหารได้แล้ว และการเฉือนอาจทำให้เกิดเชื้อราที่ท่อนพันธุ์ได้
***การใส่ปุ๋ย***Huge 2
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงเมื่อเทียบกับพืชไร่อื่นๆ ดังนั้นจึงต้องการธาตุอาหารจากดินเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันหลายปี ธาตุอาหารในดินย่อมลดลงตามลำดับ ส่งผลให้ผลผลิตของมันสำปะหลังลดลงตามไปด้วย ดังนั้นการปลูกมันสำปะหลังจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษา ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดังนั้นใส่ปุ๋ยเจริญอินทรีภัณฑ์ หรือสูตร 6-3-3เจริญเคมีภัณฑ์ ในอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2ครั้งๆละเท่าๆกัน ในครั้งแรกให้ใส่หลังจากปลูกมันสำปะหลังแล้ว 1 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อมันสำปะหลังมีอายุได้ 3 เดือน นอกจากการใส่ปุ๋ยเจริญอินทรีภัณฑ์แล้วยังใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากการหมักหอย เชอรี่ที่หมักขึ้นเอง ฉีดพ่นในอัตรา20ลิตรต่อไร่ เจือจาง 10cc:20ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วแปลงและฉีดพ่นให้แก่มันสำปะหลัง หลังจากปลูกแล้ว 15 วัน หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นทุกๆ 1 เดือน จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลัง
*** การควบคุมวัชพืช***
ในระยะแรกของการปลูกมันสำปะหลังลุงป่านบอกว่าจะมีวัชพืชขึ้นรบกวนมาก และระยะเวลาวิกฤตในการกำจัดวัชพืชจะอยู่ที่ 2-3 เดือนแรก เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่มันสำปะหลังกำลังลงหัวและจะกำจัดวัชพืชไม่ทัน ให้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชช่วยในการกำจัดวัชพืชโดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลง จากนั้นประมาณ 1สัปดาห์ให้ใส่ปุ่ยสูตร 15-15-15 หลังจาก 4 เดือนไปแล้วมันสำปะหลังจะไม่มีการสร้างหัวเพิ่ม แต่จะขยายขนาดหัวให้ใหญ่ขึ้น ถ้ามีวัชพืชขึ้นรบกวนในช่วงนี้มากจะทำให้ผลผลิตลดลง ลุงป่านการเริ่มกำจัดวัชพืชครั้งแรกต้องรีบกระทำ อาจเริ่มที่ 15 วันหลังจากปลูก ยิ่งล่าช้าออกไปผลผลิตจะยิ่งลดลง ควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกให้เสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากปลูก และอาจต้องกำจัดวัชพืชอีก 2-3ครั้งจนกว่าพุ่มของใบมันสำปะหลังจะชิดกัน หรืออีกวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันวัชพืชได้คือการฉีดสารเคมีคุมเมล็ดวัชพืช หลังการปลูกมันสำปะหลัง1-2วัน เป็นการคลุมดินป้องกันวัชพืชได้ในช่วงแรกๆ หรือใช้สารสกัดจากจุลินทรีย์เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช

ปลูกมะนาว ทำออกนอกฤดูได้ รวยอย่างเดียว

ปลูกมะนาว ใครว่ายาก ทำออกนอกฤดูได้ รวยอย่างเดียว
อาชีพเกษตรกรรมมีอยู่มากมายหลายอย่าง เกษตรกรมักจะเลือกประเภทตามที่ตัวเองถนัด หรือพื้นฐานทางครอบครัวอยู่แล้ว หรือตามสภาพดินฟ้าอากาศ กระทั่งการคำนึงถึงการซื้อการขาย ก็คือ สวนมะนาว ทั้งที่ได้ยินข่าวเสมอว่ามะนาวราคาถูก ขายกันเป็นร้อยเป็นพันลูกราคาไม่กี่บาท ทว่า ในขณะที่ได้ยินข่าวว่า มะนาวถูกแสนถูกนั้น ในอีกช่วงเวลาหนึ่งก็จะได้ยินว่า มะนาวราคาแพงแสนแพง ราคาลูกละ 7-8บาทซึ่งในช่วงนี้ ใครปลูกมะนาวได้ผล ก็แทบจะเรียกได้ว่า ทำเหมืองทองเลยทีเดียว ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยเจริญอินทรีย์
วิธีการจัดการสวนมะนาวให้ออกนอกฤดู
คือในช่วงแพงได้ และเป็นช่วงที่ทำเงินได้มาก
เริ่มต้น ต้องรู้ธรรมชาติของมะนาวก่อนว่า จะให้ผลผลิตตามฤดูกาลหรือเรียกว่า "มะนาวปี"คือในช่วงเดือนมิถุนายน เป็นต้นไป คือช่วงฝน แต่พอเข้าหนาว ต่อร้อนช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน ช่วงนี้ล่ะที่มะนาวแพง หรือเป็นมะนาวนอกฤดู
ดังนั้น ในช่วงที่มะนาวออกดอกตามฤดูกาล หรือมะนาวปี ควรฉีดฮอร์โมนให้ดอกร่วงหมด โดยผสมฮอร์โมนแรงกว่าปกติเป็น 10เท่าจากนั้นตัดแต่งกิ่ง บำรุงต้นไว้ให้ออกนอกฤดู จะได้ราคาดีกว่า หรือหากจะให้ออกทั้งนอก ทั้งในฤดู จะทำให้ต้นโทรม
เมื่อตัดแต่งกิ่งแล้ว ต้องบำรุงทั้งใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวผสมGiant1ทุกเดือนครั้งละ 300 กรัมต่อลูก  และใช้Giant2ป้องกันแมลงชื้อราสารสกัดชีวภาพT-BIOเพื่อให้ต้นมีความสมบูรณ์ จากนั้นมะนาวจะเริ่มติดดอกในราวๆ เดือนตุลาคม แล้วไปเก็บผลผลิตได้ในช่วงมะนาวแพง อย่างที่ว่า
ปุ๋ยที่ใช้บำรุงต้น มีทั้งใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว ปุ๋ยชีวภาพ และหากมีโรคแมลงก็ใช้ Giant2

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

สารบำรุงตันยาง

HUGE1 (อาหารเสริมพืช)
650บาท 780บาท

เพิ่มน้ำยางพารา

Giant สูตร 6 (เพิ่มน้ำยางและป้องกันรักษาหน้ายางพารา) ขนาด 1 ลิตร
650บาท
780บาท

ปุ๋ยเจริญอินทรีย์ภัณฑ์

ปุ๋ยเจริญอินทรีย์ภัณฑ์ CP301 (1 ลิตร)
390บาท 470บาท

พาราโกว์ (รักษาหน้ายาง)

พาราโกว์ (รักษาหน้ายาง)Paragrow (1 ลิตร)
450บาท 530บาท

มณีพันธ์ 1 สูตร 2 สำหรับปาล์ม ยางพารา

มณีพันธ์ 1 สูตร 2 สำหรับปาล์ม ยางพารา และไม้ผลทุกชนิด (ขนาด 5 ลิตร)
1250บาท 1400บาท
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อินทรีย์ดิน
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อินทรีย์ดิน
650บาท 780บาท
ปุ๋ยอินทรีย์ ตรานาคราช
ปุ๋ยอินทรีย์ ตรานาคราช
365บาท 400บาท
ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ตราอินทรีภัณฑ์ สูตร 6-3-3
ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ตราอินทรีภัณฑ์ สูตร 6-3-3 (ขนาด 25 กก.)
450บาท 55บาท
ปุ๋ยอินทรีย์ หนึ่งอินทรีย์ดิน
ปุ๋ยอินทรีย์ หนึ่งอินทรีย์ดิน (ขนาด 25 กก.)
393บาท 400บาท

การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีหรือไม่อย่างไร

การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีหรือไม่อย่างไร
ปุ๋ยเคมีใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ดีที่สุด เมื่อพิจารณาด้านการนำมาใช้ปรับปรุงดินเลวให้เป็นดินดีนั้น ทั้งปุ๋ยอินทรีย์แปุ๋ยเคมีต่างก็มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
ข้อได้เปรียบของปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยสูตรพิเศษ ตราอินทรีภัณฑ์

  • ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชของดินดีขึ้น ข้อดีข้อนี้ปุ๋ยอินทรีย์ทำได้แต่ผู้เดียว ปุ๋ยเคมีไม่สามารถทำได้
  • อยู่ในดินได้นาน และค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ
  • เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยอินทรีย์
  • มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
  • ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมีในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่พืช
  • ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมีเมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
ข้อได้เปรียบของปุ๋ยเคมี
  • มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอ
  • ราคาถูกเมื่อคิดเป็นราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร ประกอบกับการขนส่งและเก็บรักษาสะดวกมาก
  • ให้ผลทางด้านธาตุอาหารเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์
ข้อเสียเปรียบของปุ๋ยเคมี
  • ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงสภาพทางฟิสิกส์ของดิน กล่าวคือไม่ทำให้ดินโปร่งร่วนซุยเหมือนปุ๋ยอินทรีย์
  • ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ถ้าใช้เป็นปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องใช้ปูนช่วยแก้ความเป็นกรดของดิน
  • ผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นอาจมีผลเสียหายต่อพืชและต่อภาวะเศรษฐกิจของผู้ใช้ (ทำให้ขาดทุนได้)
ปัญหาต่างๆจะหมดไปเมื่อใช้ ปุ๋ยเจริญอินทรีภัณฑ์หรือปุ๋ยเคมีอินทรีย์ภัณฑ์

เกษตรอินทรีย์ใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรส่วนใหญ่

เกษตรอินทรีย์ปนปุ๋ยเคมีของเกษตรกรส่วนใหญ่

ถึงแม้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ ของ ประเทศไทย เริ่มตระหนักถึงพิษภัยของปุ๋ยเคมี ที่ใช้กันมา 40 กว่าปี ทำให้ดิน น้ำ อากาศ และสิ่งแวดล้อมเสียหายในวงกว้างก็ตาม เกษตรกรส่วนใหญ่ยังฝังใจและเชื่อมั่นว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวะภาพ ไม่สามารถให้สารอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ที่เพียงพอแก่พืชของตนเอง ผลที่ได้รับก็คือผลผลิตลดลงไปกว่าครึ่ง เมื่อเกษตรกรเริ่มหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในรอบแรกๆ โดยเฉพาะปุ๋ยอินทรีย์มีอยู่เป็นพันยี่ห้อ
แต่ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้ตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ของกระทรวงเกษตร มีเพียง 2-3 ยี่ห้อเท่านั้น ในท้องตลาด และบางยี่ห้อยังได้รับมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์จากค่ายยุโรปอีกด้วยมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ ของกระทรวงเกษตร
เป็นสัจจธรรมที่ต้องยอมรับว่า ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ได้จากวัตถุดิบธรรมชาติในปัจจุบัน ได้มาจากดิน น้ำ อากาศ สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมกว่าแต่ก่อนมากปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จึงมีแร่ธาตุ และสารอาหารที่พืชต้องการอยู่ไม่มากนัก เทียบกับปุ๋ยเคมีไม่ได้ ประเทศเวียตนาม สั่งปุ๋ยอินทรีย์ไปจากประเทศไทยไม่น้อย แต่เงื่อนไขการหมักต้องใช้เวลาผลิต 1ปีขึ้นไป จึงจะยอมรับซื้อ โดยทางสถานทูตของเขามาดูแลเงื่อนไขการผลิตอย่างเข้มงวด กว่าจะเป็นที่ยอมรับให้ส่งออกไปประเทศของเขา ให้ชาวนาได้ใช้ปรับปรุงดิน และน้ำชลประทานของเขา ยังมีพื้นที่มากกว่าของประเทศไทยอีกด้วย...หากชาวนาไทยยังย่ำอยู่กับที่ น่าจะรู้อนาคตดีว่าการผลิตข้าวของเรา จะนำหน้าหรืออยู่ตามหลังเวียตนาม
แต่ ส่วนที่เกษตรกรได้รับจากปุ๋ยอินทรีย์เต็มๆ คือการช่วยปรับปรุงดินให้มีชีวิตดีขึ้นกว่าเก่า และส่งเสริมให้เกิดจุลินทรีย์ในดินเพิ่มขึ้น จนมีไส้เดือนดินเกิดขึ้นช่วยพรวนดิน และช่วยผลิตปุ๋ย ธรรมชาติให้แก่รากพืช เพิ่มโพรงอากาศให้แก่ดินมากยิ่งขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวงจรของสัตว์เล็กๆเช่นจุลินทรีย์ ช่วยผลิตสารอาหารให้แก่รากพืช และยังช่วยดึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศให้แก่รากพืชอีกด้วย
การใช้ปุ๋ยเคมีสะสมความเป็นกรดในดินมากขึ้นเกินสมดุล จนจุลินทรีย์อยู่ไม่ได้พากันล้มตายไปหมด โรงครัวใหญ่ใต้ดินของรากพืช จึงขาดตัวช่วยจากธรรมชาติที่ชาวนาไม่ต้องลงทุนไปอย่างน่าเสียดาย...ลืม คิดไปว่าทำไมป่าไม้จึงงอกงามเจริญดีมาเป็นร้อยๆปี ธรรมชาติเอื้อเฟื้อต่อกันเป็นวงจรอย่างไร ชาวนาและเกษตรกร ไม่ได้รับความรู้ตรงนี้ของธรรมชาติที่สอนโดยไม่ต้องสอนแต่เป็นให้ดู

เมื่อเกษตรกรที่อดทนไม่พอ ในการปรับตัวและฟื้นชีวิตให้ดินโดยหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์พากันล่าถอยเลิกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากมีรายได้จากผลผลิตน้อย เป็นประการแรก และไม่สะดวกในการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งมีน้ำหนักมาก และรากพืชได้รับสารอาหารช้ากว่าการใช้ปุ๋ยเคมี จึงพากันหันกลับไปใช้ปุ๋ยเคมีอีกเช่นเดิม เป็นที่น่าเวทนาที่เขาคิดว่าไม่มีที่พึ่งอื่นใดดีกว่านั่นเอง ใจก็ยังคิดจะให้ได้รับผลผลิตมากๆเข้าไว้นั่นเอง ไม่รู้จักเศรษฐกิจพอเพียงในอาชีพเกษตรกรรมของตนเอง และยังได้รับเครดิตจากร้านค้าปุ๋ย ให้นำปุ๋ยมาใช้ได้ก่อนยังไม่ต้องชำระเงิน ใช้เงินอนาคตไปก่อน แต่ต้องชำระคืนหลังเก็บเกี่ยว พร้อมดอกเบี้ยราคาแพงอีกด้วย

เกษตรอินทรีย์ ฟื้นผืนดิน ฟื้นชีวิต เพิ่มคุณภาพ เพิ่มผลผลิต

เกษตรอินทรีย์ ฟื้นผืนดิน ฟื้นชีวิต เพิ่มคุณภาพ เพิ่มผลผลิต
ปัจจุบันแม้กระแสโลกได้มีการรณรงค์ให้ผู้คนหันมาบริโภคอาหารปลอดสารพิษและให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ดูเหมือนว่า บ้านเรานั้นให้ความสนใจน้อยมาก เกษตรกรส่วนใหญ่ยังนิยมใช้สารเคมีในภาคเกษตร ทั้งที่ทราบว่ามหันตภันของสารเคมีนั้น คร่าชีวิตผู้คนทั้งผู้บริโภค และผู้ใช้สารเคมีเพื่อการเกษตรมามากต่อแล้วก็ตามเกษตรอินทรีย์กับนาข้าว

สาเหตุหลักที่เกษตรกรสนใจการทำเกษตรอินทรีย์น้อย ก็เพราะว่า ส่วนหนึ่งเกษตรกรยังไม่เข้าใจคำว่าเกษตรอินทรีย์ จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ขณะที่การใช้สารเคมีในภาคเกษตรนั้นเห็นผลชัดเจนคือสามารถกำจัดศัตรูพืชได้ดั่งใจ ผลผลิตที่ออกมามีปริมาณมาก  และสวยด้วย ทั้งที่ความจริงบนความสวยงามของผลผลิตทางเกษตรที่มาจากการใช้สารเคมีนั้น เป็นมหัตภัยอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ริโภค
มีตัวอย่างให้เห็นครับ ชาวอีสานจำนวนมาก มีการล้มป่วยเป็นโรคทางเดินอาหาร และอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ที่เกิดมาจากการบริโภคพืชผักทางการเกษตรที่มาจากเมืองจีน     พืชผักที่มาจากเมืองจีนที่ตรวจพบว่า สารเคมีตกค้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะทะลักเข้ามาทางจังหวัดชายแดนริมแม่น้ำโขงตอนบน แล้วไปขายในพื้นที่ภาคอีสาน มีจำพวก ผักคะน้า บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี และแครอท มีสารออร์แกโน ฟอสเฟต และคาร์บาเมตตกค้างมากที่สุด
ถึงเวลาแล้วครับ ที่บ้านเราต้องหันมาส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง และหากใครสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ หรืออยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์เชิญได้ครับ

Huge

huge1 HUGE 1
พืชผัก มะเขือ ถั่วฝักยาว ข้าว แตงร้าน บวบ มะระ พริก แตงโม คะน้า ผักกาด หัวไชเท้า
พืชไร่ สับปะรด มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด กาแฟ ถั่วลิสง เผือก
ไม้ผล มะม่วง มะขาม แก้วมังกร ฝรั่ง ชมพู่ ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน เงาะ
ไม้ดอกไม้ประดับ ดาวเรือง มะลิ ดอกรัก กุหลาบ กล้วยไม้
huge2 HUGE 2 ยางพารา
กระตุ้นระบบการหาอาหาร รากและใบ เพิ่มธาตุอาหารให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ของต้นยางพารา
ทำให้ลำต้นแข็ง รากมากแข็งแรงทนลม และการชะล้างจากภัยธรรมชาติ
ทำให้หน้ายางนิ่ม โดยทาบริเวณที่กรีดหน้ายาง
มีการสร้างเนื้อมากขึ้น ทั้งลำต้น ทำให้หน้ายางนิ่ม กรีดง่าย น้ำยางมากอย่างชัดเจน
huge3 HUGE 3 ปลา,กุ้ง,กบ
ช่วยให้ระบบการย่อยอาหาร ลำไส้ดูดซึมอาหารได้อย่างสมบูรณ์ ประหยัดอาหาร กินอาหารได้ดีขึ้น
ทำให้แข็งแรง โตเร็วไม่ตกใจ ลดความเครียดของกุ้ง ปลา
ทำให้กุ้งลอกคราบได้อย่างสมบูรณ์ เปลือกกุ้งแข็งแรง ตัวใส มูลสวย อัตราการรอดตายสูง
กุ้งไม่เป็นตะคริว เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ลดยาปฏิชีวนะลง ป้องกันอาการขี้ขาว อย่างได้ผล
huge4 HUGE 4 โคนม,โคเนื้อ,หมู
ช่วยให้ระบบการย่อยที่สมบูรณ์ มีเอ็นไซด์ ซึ่งทำให้ระบบลำไส้ ย่อยอาหารและนำอาหารไปใช้ได้หมด ลดคอเรสเตอรอล ในเส้นเลือดของสัตว์
เพิ่มน้ำหนักตัว เนื้อแน่นตัน เพิ่มคุณภาพเนื้อให้ดี ไม่เหลวนิ่ม มันน้อย
เพิ่มปริมาณน้ำนม น้ำนมมีคุณภาพดี
สร้างภูมิต้านทานโรค

ยางพาราใช้ปุ๋ยมูลค้างคาว

ยางพาราใช้ปุ๋ยมูลค้างคาวผสม Giantสูตร 1 อัตราส่วน 1 กระปุกต่อ 3-5 กระสอบ

  • ยางอายุ 1-2 ปี ใช้ปุ๋ยที่ผสมแล้ว 200 กรัมต่อต้น
  • ยางอายุ 3-5 ปี ใช้ปุ๋ยที่ผสมแล้ว 0.5 กก.ต่อต้น
  • ยางอายุ 5 ปีขึ้นไป ใช้ปุ๋ยที่ผสมแล้ว 1 กก.ต่อต้น
  • ยางอายุ 7 ปี ใช้ปุ๋ยที่ผสมแล้ว 1.5 กก.ต่อต้น
หว่านทุก 30-40 วัน
  • กรณียางหน้าตายให้ใช้ Jiant 6 ทาหน้ายาง
  • กรณียางเกิดรารากให้ใช้Jiant 5 40cc/น้ำ 20 ลิตรราดชายพุ่ม
สารสกัดจุลินทรีย์ คุณสมบัติ
1. สารสกัดจากจุลินทรีย์
2. สารสกัดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันมานานกว่าล้านปี
(Wate Oil - กากปิโตรเคมี)
3. สารสกัดจากไข่
4. สารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ

ส่วนประกอบสำคัญ
- N P K Ca Mg S Fe Zn Cu Mn B Mo Cl ………………......... 8-9 %

- โปรตีน .................................................................................. 15-16 %
- วิตามิน B1, B2, B6, B12 …………………………   3-5 มล./ 1 ก.ก.
- กรดอะมิโนสกัดจากธรรมชาติ ........................................... 18 ชนิด
- Growth Hormone (ฮอร์โมนสกัดจากธรรมชาติ)
- สารไล่แมลงสกัดจากธรรมชาติ
สารสกัดจุลินทรีย์ชีวภาพ ผสมกับปุ๋ยมูลค้างคาว อัตราส่วน 1 กระปุกต่อปุ๋ย 5 กระสอบ

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทางเลือกของเกษตรกรไทย

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

เป็นปุ๋ยรูปแบบใหม่ที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์ที่ได้รับการสนับสนุนงานวิจัยจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก)เป็นปุ๋ยสองชนิดร่วมกัน คือ ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ กระบวนการผลิตจะต้องทำการผลิตแยกกัน
    ปุ๋ยอินทรีย์การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จะต้องใช้กระบวนการผลิตที่ให้อุณหภูมิสูงเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโรคพืช คน และสัตว์ในวัสดุหมัก รวมทั้งเพื่อลดประชากรจุลินทรีย์ธรรมชาติในช่วงสุดท้ายที่อุณหภูมิในกองปุ๋ยลดลงอยู่ระหว่าง 35-40°C
    ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้นจะใช้จุลินทรีย์กลุ่ม plant growth promoting rhizobacteria (PGPR) ที่สามารถตรึงไนโตรเจนได้และผลิตออกซิน โดยต้องทำการผลิตในถังหมักระบบปลอดเชื้อ จุลินทรีย์ที่ใช้คือสกุล Azotobacter และ Azospirillum ที่ได้ผ่านการคัดเลือกเฉพาะที่ให้ประสิทธิภาพสูง การผลิตในถึงหมักปลอดเชื้อจะต้องได้ปริมาณเชื้อสูงถึง 109 cells/ml จึงจะสามารถนำไปผสมกับปุ๋ยหมักได้
    นอกจากปุ๋ยชีวภาพในกลุ่ม PGPR แล้วยังได้นำเชื้อราไตรโคเคอร์มา (Trichoderma harzianum) ซึ่งเป็น จุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ และเชื้อปฏิปักษ์ยับยั้ง และทำลายเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้รากเน่าในพืช ใส่ลงไปในปุ๋ยดังกล่าวด้วย
    ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ดังกล่าวนี้จะมีคุณสมบัติของการเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร และมีปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวในปริมาณที่สูงพอที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อพืช
    ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
  

  • บำรุงดิน โดยช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารให้กับพืชรวมถึงปรับสภาพสมดุลของธาตุอาหารในดิน ให้ดินมีความร่วนซุยจับตัวกันอย่างพอเหมาะต่อการเก็บ การระบายน้ำ และมีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • ช่วยลดกิจกรรม และปริมาณของเชื้อราสาเหตุของโรคพืชบางชนิดในดิน เพิ่มความต้านทานโรคของพืช
     
  • สามารถให้ปุ๋ยไนโตรเจนและอ๊อกซินกับพืชได้โดยจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
     
  • สามารถใช้ได้กับพืชปลูกทุกชนิด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
      
  • ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
 

นาโนไคโตซาน

ไฮเทคเทคโนโลยี นาโนไคโตซาน อาหาร ปลอดภัยห่วงใย สิ่งแวดล้อม ปลอดสารพิษ 100% ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรทั่วไทย
ไคติน/ไคโตซาน เป็นสารโพลีเมอร์ธรรมชาติ ได้จากเปลือกกุ้ง เปลือกปู และแกนปลาหมึก ไคตินอยู่ในรูป ของ Polymeric form of N-acetyl-b - glucosamine ขณะที่ไคโตซานเป็น deacetylated product ของไคตินนอก จากนี้ ไคติน/ไคโตซานเป็นมิตรกับธรรมชาติและปลอดสารพิษมีประโยชน์ในการประยุกต์ใช้
เปลือกกุ้งและหัวกุ้ง มีสารพอลิแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นไบโอพอลิเมอร์ เรียกว่าไคตินอยู่จำนวนมาก
กระบวนการสกัดไคตินจากเปลือกกุ้ง โดยการบดแล้วแยกโปรตีนออก และลดปริมาณแร่บางชนิดลง จากนั้นนำไปอบแห้งให้ได้ไคตินปริมาณ 28เปอร์เซ็นต์ของเปลือกกุ้ง-หัวกุ้ง ไคตินเป็นสารที่ละลายได้ยากใช้งานไม่สะดวก จึงต้องแปรสภาพให้เป็นไคโตซาน
คุณสมบัติไคโตซาน

  • ช่วยสร้างระบบรากพืชให้ใหญ่ อวบ ยาว ดูดซึมอาหารได้ดีโตเร็ว
  • ช่วยให้ลำต้น กิ่งก้านใบ มีความสมบูรณ์ แตกยอดและใบมาก
  • สร้างระบบการติดดอก ตาดอกสมบูรณ์ และติดผลมากขึ้น
  • ช่วยให้พืชต้านภูมิต้านทานโรค และเป็นฟิล์มบาง ๆ ป้องกันแมลงได้ดี
  • ช่วยปรับสภาพดินให้สมดุล พืชสามารถดูดธาตุอาหารไปใช้ได้ง่าย
  • มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส จุลลินทรีย์ ที่ทำให้เกิดโรคพืช

ปุ๋ยอินทรีย์ เจริญอินทรีภัณฑ์

ปุ๋ยอินทรีย์

บริษัทเจริญโอสถฯ เป็นบริษัทเดียวที่เซ็นสัญญากับ บริษัทอินเตอร์ อโกรเทค Inter Agro Tech(Thailand) จำกัด
ตั้งอยู่ที่ จ.กำแพงเพชร ที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลขุดมูลค้างคาวจากถ้ำ เขาหน่อ-เขาแก้ว
แถบ จ.นครสวรรค์-กำแพงเพชรเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบทำ ปุ๋ยมูลค้างคาว ทำให้มีฮิวมัสสูงกว่าปุ๋ยทั่วไปมาก
และเจริญโอสถฯ ยังมีโรงงานผลิต ปุ๋ยอินทรีย์สูตรปกติ ของตนเองอีกด้วย


ข้อดีปุ๋ยมูลค้างคาวของเจริญโอสถฯ
1. ไร้สารเคมี เป็นอินทรีย์ธรรมชาติ 100%
2. ให้ธาตุอาหารครบ 13 ชนิดที่พืชต้องการคือ
ไนโตรเจน(N),ฟอสฟอรัส(P),โพรแทสเซี่ยม(K),แคลเซี่ยม(Ca),แมกนีเซี่ยม(Mg),กำมะถัน(S),
เหล็ก(Fe),สังกะสี(Zn),ทองแดง(Cu), แมงกานีส(Mn),โบรอน(B),โมลินั่ม(Mo),คลอรีน(Cl)
ทำให้ไม่ต้องไปซื้อปุ๋ยสูตรพิเศษต่าง ๆ มาใส่เพิ่มอีกช่วยลดต้นทุนการผลิต
3. มีค่าอินทรีย์วัตถุ OM (Organic Matter) ที่ประมาณ 66 % สูงกว่า ที่กฎหมายกำหนดขั้นต่ำที่ 30% สหกรณ์ซื้อแล้วไปเบิกเงินได้แน่นอน ปุ๋ยอินทรีย์จะไม่เขียนสูตรปุ๋ยเพราะไม่ใช่ปุ๋ยเคมี แต่ใช้ค่า OM
บอกความสมบูรณ์ของธาตุอาหารแทน ใช้บอกคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์ส่วนมาก จะไม่บอกค่า OM
หรือก็ไม่ผ่านมาตราฐานที่กำหนด ค่า OM ปุ๋ยต้องส่งตรวจที่หน่วยงานของรัฐโดยตรง โรงงานผลิตปุ๋ยจะตรวจวัดเอง
ระบุเองไม่ได้
4. ผลิตด้วยเครื่องจักรควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ปุ๋ยมูลค้างคาวที่บริษัทอินเตอร์ อโกรเทค ผลิตส่งออกญี่ปุ่นและผลิตให้บริษัทเจริญโอสถฯ ขายเป็นเกรดเดียวกัน
5. ท่านได้ปุ๋ยเต็ม ๆ ล้วน ๆ 25 กิโลกรัม/ลูก ไปใช้ แม้ว่าปุ๋ยทั่วไปจะมากกว่าคือ 50 กิโลกรัม/ลูก "แต่"
ปุ๋ยทั่วไปจะใส่ สารเติมเต็ม (Filler) คือ อิฐ หิน ปูน ทราย ดินเหนียว เศษฟาง ฯลฯ ผสมเข้าไปทำให้ได้เนื้อปุ๋ยจริง ๆ
น้อยกว่าที่ท่านคิด หลายท่านกำลังซื้อขยะ Filler เหล่านี้ไปใส่ไร่ใส่นาโดยไม่รู้ตัวซึ่งไม่มีประโยชน์แก่ต้นไม้เลย มีปุ๋ยนิดเดียว!
ปุ๋ยเจริญโอสถฯ ใช้มูลค้างคาวอายุต่าง ๆ กัน และธาตุฟอสเฟตหลายพันปีที่ผสมกับมูลค้างคาวแทนสารเติมเต็ม
แม้จะ 25 กิโลกรัมแต่เป็นเนื้อปุ๋ยล้วน ๆ ที่มีธาตุอาหารจริง ๆ หรือใช้เป็นหัวปุ๋ยก็ได้


เปรียบเทียบ
ปุ๋ยเคมีทั่วไป
ปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป
ปุ๋ยมูลค้างคาว (เจริญโอสถ)
1. ราคา (บาทต่อลูก)
2. วัตถุดิบ
3. ธาตุอาหารหลัก
4. ธาตุอาหารรอง
5. ธาตุอาหารเสริม
6. ผลกระทบ
7. จำนวนการใช้
900 - 1,400
สารเติมเต็ม(Filler)
N,P,K (สารเคมี)
-
-
ดินเสียเป็นกรด
50 kg/ลูก/ไร่
300 - 1,000
มูลสัตว์-ซากพืช
ไม่ชัดเจน
ไม่ชัดเจน
ไม่ชัดเจน
เศษซากขยะตกค้าง
100 kg/ลูก/ไร่
365
มูลค้างคาว
N,P,K (ธรรมชาติ)
Mg,Ca,S
Fe,Mn,Zn,Cu,B,Mo,Cl

ดินดี ผลผลิตสูง
25 kg/ลูก/ไร่
 
ปุ๋ยเคมีทั่วไป
ปุ๋ยมูลค้างคาว (เจริญโอสถ)
1. ราคา 900 - 1,400 บาทต่อลูก
2. ลูกล่ะ 50 kg หรือ 20 ลูก/ตัน
3. 18,000 - 28,000 บาท/ตัน
4. 1ลูก/1 ไร่ (1 ตัน/20 ไร่)
5. ใช้นาน ๆ ดินเสียเป็นกรด
1. ราคา 365 บาทต่อลูก
2. ลูกล่ะ 25 kg หรือ 40 ลูก/ตัน
3. 14,000 บาท/ตัน
4. 1ลูก/1 ไร่ (1 ตัน/40 ไร่)
5. ดินสมบูรณ์ไม่เสีย ไม่มีเคมี

การทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนเคมี

สนใจในการทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนเคมี

   ผมมีความสนใจในการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ ผมพยายามหาอ่านตามบอร์ดเกษตรต่างๆ ก็ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรพอสมควร แต่เป็นการยุ่งยากที่จะหาความรู้ตามที่เราต้องการ จึงได้ทำการรวบร่วมการทำการเกษตรที่คิดว่ามีประโยชน์ต่อตัวผมเองและพี่น้องผู้ที่มีความสนใจในการทำการเกษตร

เรามาเริ่มศึกษาการทำเกษตรกันเลย

  การทำการเกษตรของคุณพี่คนหนึ่งที่ บ่อทอง ชลบุรี คุณพี่ ได้ทำการทดลองการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับแปลงทดลองของตัวเอง โดยทำการทดลองกับอ้อยที่ปลูกในเดือนมกราคม และต้องเผชิญความแห้งแล้งบวกกับความร้อนของเดือนเมษายน พี่คนนี้มีประสบการณ์การเกษตรมานานและทำไร่อ้อยมา 30กว่าปี วิธีการคือ ร่องก้นหลุมที่ 50กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองที่ได้คือ อ้อยงอกเร็วแตกหน่อดี ใบอ้อยจะใหญ่เหมือนใส่ปุ๋ยคอกแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของอ้อย และที่สำคัญทนต่อความแห้งแล้ง  พันธุ์อ้อยที่ปลูกคือ k9584

วิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ

การเกษตรอินทรีย์ เป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของไทย

Blog Archive

Search